泰语知识大讲堂:为什么要叫“美丽”的米饭

小能 0 2024-07-22

不知道大家是不是也和小编有一样的疑问,泰语里为什么要叫米饭“ข้าวสวย”,为什么要叫“美丽的米饭”?其实这个词背后还是有很多说法的,今天我们就打大家好好扒一扒这个词背后的故事,一起看看吧!



กรอบแนวคิดรวบยอด (concept) ของคนวัฒนธรรมไท มักคิดเปรียบเพื่อจําแนกสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น สูง-ต่ำ, ดํา-ขาว, หน้า-หลัง, อ่อน-แข็ง, มืด-แจ้ง, ซ้าย-ขวา, ไพร่-เจ้า, ฟ้า-ดิน ดังนี้เป็นต้น


วัฒนธรรมของชาวสยามรวมถึงหมู่กลุ่มของผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านละแวกเอเชียอาคเนย์นี้ เป็นคนที่บริโภคข้าวโดยตรง คือนํามาหุง ต้ม นึ่ง ไม่นําไปทําเป็นโรตี หรือขนมปัง มีบ้างที่นําไปทําเป็นเส้นอย่างทําขนมจีนหรือทําเป็นเส้นหมี่อย่างวัฒนธรรมมอญหรือจีน แต่ก็ยังถือว่าเป็นคนบริโภคข้าว




คนตระกูลไทก็จําแนกข้าวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือข้าวเหนียว กับข้าวเจ้า จ้าว (ซึ่งเคยกล่าวไว้ในศิลปวัฒนธรรมว่า เจ้า/จ้าว ในภาษาไทยใหญ่ยังเหลือค้างความหมายที่แปลว่า ร่วน หรือ ซุย)


แต่เพราะคําว่า เจ้า/จ้าว ซึ่งมีความหมายว่าร่วน หรือ ซุย นี้ ชาวไทยภาคกลางของประเทศไทยไม่ได้นําไปใช้ในปริบทอื่น นอกเสียจากผูกติดอยู่หลังคําว่า ข้าว เรียกว่าเป็น คําที่เกิดควงกันเสมอ จนถึงขั้นมีการตีความไปว่า ข้าวเจ้า เป็นข้าวของผู้นําหรือของกษัตริย์หรือบรรดาเจ้ากิน




เมื่อเจ้าตรงข้ามกับไพร่ ตามครรลองของภาษาในสังคมไทย จึงเกิดความเข้าใจไปอีกว่า ข้าวเหนียวก็พึงเป็นข้าวที่พวกไพร่กิน เรียกว่าเป็นการจับคู่เทียบความหมายที่ไม่แยแสปริบทวัฒนธรรม และความเป็นจริงทางธรรมชาติกันเลยทีเดียว


หากดูตามแนวอรรถศาสตร์อันเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องของความหมาย ถ้านําเอาความหมายของคําว่า (ข้าว)เจ้า ซึ่งแปลว่า ซุย หรือ ร่วน ไปเรียกเป็นชื่อ ข้าว ก็จะได้อีกชื่อหนึ่งว่า ข้าวซุย หรือ ข้าวร่วน ได้ แต่คําพูดของคนในสังคมไทยภาคกลางไม่พากันเรียกขานเช่นนี้ มีแต่เรียกข้าวเจ้ากันเรื่อยมา เมื่อคนส่วนใหญ่เรียกเช่นนี้ก็เกิดการรับรู้กันทั่วไป




คําว่า ซุย มีความหมายคล้ายคํา ว่า ร่วน คือมีลักษณะไม่เกาะกันหนีบ เหนียว อย่างเช่นการพรวนดินให้ซุย เป็นต้น ซึ่งคํานี้สันนิษฐานว่าเป็นที่มา ของคําว่า สวย ในคําว่า ข้าวสวย และ คําว่า ซุย กับ สวย มีส่วนที่พ้องกันใน ทางสัทศาสตร์หลายประการ ดังนี้


ตัวอักษร ซ และ ส เป็นหน่วยเสียง (phoneme) เดียวกันคือ /s/ ซึ่ง อักษรตัว ซ เป็นอักษรต่ํา ส่วนตัว ส เป็นอักษรสูง คือมีลักษณะเสียงวรรณยุกต์จัตวาติดตรึงอยู่ประจําตัวเองเสมอ เมื่อไปประสมสระยาว หรือไปอยู่ในรูปคําเป็นก็จะแสดงค่าเป็นระดับวรรณยุกต์จัตวาอยู่ร่ำไป โดยไม่ต้องทําเครื่อง หมายจัตวามากํากับ เช่น สี สอย สวย สาง สิน เป็นต้น


ซุย และ สวย มีหน่วยเสียง พยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ด้วยหน่วยเสียงเดียวกัน คือ /y/ หรือเสียง /ย/ ซุย ประสมด้วยสระ อุ หรือ หน่วยเสียงสระ /u/ ส่วน สวย ประสมด้วยสระ อัวะ หรือ สระอัว แม้ว่าทั้ง 2 คำจะประสมด้วยสระที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นแก่นของฐานเสียงสระเดียวกันคือ หน่วยเสียงสระ /อุ/ อีกประการหนึ่งนั้น มีเสียงตัวสะกด /ย/ เหมือนกัน ทําให้ทั้ง 2 คํามีสภาพเป็น คําเป็น


เมื่อเขียน ซุย และ สวย ด้วย สัทอักษร จะได้รูปร่าง /suy/ และ /suay/ ตามลําดับ จะเห็นได้ว่า รูปคํา ซุย และ สวย เมื่อเขียนเป็นสัทอักษร หน่วยเสียงหลักๆ ยังคงเหมือนกัน สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในคําว่า สวย คือหน่วยเสียงวรรณยุกต์จัตวา และมีหน่วยเสียงสระ อะ /a/ มาประสมกับหน่วยเสียง /u/ จึงกลายเป็นสระ อัวะ ไปในที่สุด




กล่าวมายาวๆ ด้วยหลักวิชาการนี้ สรุปเป็นคําพื้นบ้านทั่วไปเพียงต้องการบอกว่า สวย ที่เราเรียกกันว่า ข้าวสวย นั้น น่าจะเป็นคําที่กร่อนเสียง หรือ กลายเสียงจากคําว่า ซุย แทนที่จะเรียกว่า ข้าวซุย คนภาคกลางไม่เรียกเช่นนั้น เรากลับเรียกว่า ข้าวสวย


ในการนิยามความหมายเพื่อจัดทําพจนานุกรม เมื่อทําถึงคําว่า สวย จึงควรอธิบายหรือนิยามความหมายตามที่มีการใช้ทั่วๆ ไป อย่างมีการใช้ว่า บ้านสวย คนสวย ฟ้าสวย รถสวย ฯลฯ สวยตรงนี้มีความหมายคร่าวๆ ว่างามนั่นเอง แต่ถ้าจะอธิบายคําว่า สวย ที่ผนวกอยู่ท้ายคําว่า ข้าว เราคนไทยไม่ได้แปลว่า ข้าวงาม หรือ ข้าวสวยดี แต่เราหมายถึง ข้าวเจ้าที่หุงสุกแล้ว พร้อมกินได้





以前泰语君也疑惑过这个词,还想着为什么有 ข้าวสวย 但是没有 ข้าวขี้เหร่ 呢?原来一个简单的词背后原来有这么多复杂的知识呀! 小伙伴们学到了吗~


泰语大讲堂:“学校”后面加的泰语后缀 你都认识吗?
泰语每日一词:เจ้าสาว“新娘”(Day 1837)
相关文章