医疗旅游是什么?泰国已经成为全球医疗旅游规模第四大的国家!

小能 0 2024-03-26

相信很多人和泰语君一样还没有听说过医疗旅游这种旅游模式,但大家知道吗?泰国的医疗旅游业可谓发展得风生水起,已经达到了全球第四的水平,这都是因为什么呢?

文章带读:
(音频-可在泰国旅游信息网公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

ถ้าถามถึงสาเหตุที่ทำให้ไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลายคนคงนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม ประเพณีและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ ตลอดจนผู้คนที่เป็นมิตร แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางมาไทยกันเป็นจำนวนมาก นั่นคือ การเข้ามารับบริการทางการแพทย์

โดยในปี 2019 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ มากเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นรองเพียงแค่สหรัฐอเมริกา, ตุรกี และฝรั่งเศส โดยมีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 9% ของโลก แล้วอะไรที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ? เราจะเล่าให้ฟัง

คงไม่ผิดนักถ้าเราจะบอกว่า ธุรกิจโรงพยาบาลและการแพทย์ของประเทศไทย มีศักยภาพ และสามารถแข่งขันได้กับหลายประเทศชั้นนำของโลก โดยปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากช่วงปี 2540 ที่ในตอนนั้น ประเทศไทยเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า จนทำให้ค่ารักษาพยาบาลของไทยถูกลงมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ทำให้หลาย ๆ โรงพยาบาลเน้นชูการรักษาพยาบาลผู้ป่วยชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รวมกับรัฐบาลในสมัยนั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการหารายได้เข้าประเทศ จากลูกค้าซึ่งเป็นคนไข้ต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูง พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ในปี 2546 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเพื่อตั้งเป้าให้ประเทศไทยนั้นเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ Medical Hub ชูความเชี่ยวชาญ ทันสมัย ครบวงจร และมีการบริการที่เป็นเลิศในด้านการรักษาพยาบาล

การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์คือหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กำลังมาแรงของโลกในยุคนี้ ด้วยมูลค่าตลาดรวมที่สูงถึง 4 ล้านล้านบาท จึงทำให้นานาประเทศ ต่างพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้มารักษาตัวในประเทศของตนเอง
ซึ่งประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น..

โดยจุดแข็งที่ทำให้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกได้ คือ

1. คุณภาพของสถานพยาบาล

ถ้าพูดถึงคุณภาพของสถานพยาบาลแล้ว มาตรฐานสากลที่มักใช้วัดกันก็คือ JCI ซึ่ง Joint Commission International หรือ JCI เป็นองค์กรสากลจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่คอยตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้การรับรองคุณภาพแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ใน 72 ประเทศ โดยในประเทศไทยมีสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล JCI อยู่ 61 แห่ง ซึ่งมากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย และบราซิล ซึ่งสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน JCI ก็ครอบคลุมแทบทุกกลุ่มโรค และยังกระจายอยู่ในทุกภาคทั่วไทยอีกด้วย

ซึ่งตัวเลขนี้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียหลายประเทศ เช่น

- อินเดีย 39 แห่ง
- ญี่ปุ่น 30 แห่ง
- มาเลเซีย 17 แห่ง
- เกาหลีใต้ 9 แห่ง
- สิงคโปร์ 5 แห่ง

2. ค่ารักษาพยาบาล

ถ้าเทียบกับประเทศที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เหมือนกัน อย่างเช่น เกาหลีใต้, สหรัฐอเมริกา, มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ แล้ว ค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย จะมีราคาที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะในด้านการศัลยกรรมความงาม ที่ประเทศไทยเรามีราคาต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับทุกประเทศ และด้วยจุดเด่นนี้ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาทำศัลยกรรมความงามในไทยกันเป็นจำนวนมาก และสร้างรายได้เข้าประเทศได้มากกว่า 75,000 ล้านบาท ในปี 2019 ที่ผ่านมา

ลองมาดูตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Angioplasty) ของไทย เทียบกับต่างประเทศ ในปี 2019


- สหรัฐอเมริกา ค่ารักษา 930,000 บาท
- สิงคโปร์ ค่ารักษา 442,000 บาท
- อินเดีย ค่ารักษา 188,000 บาท
- ไทย ค่ารักษา 138,000 บาท

เรื่องนี้ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ จำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารักษาตัวกับโรงพยาบาลในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 


ปี 2002 จำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในประเทศไทย 0.6 ล้านคน
ปี 2010 จำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในประเทศไทย 1.8 ล้านคน
ปี 2018 จำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในประเทศไทย 3.4 ล้านคน


จำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้จากชาวต่างชาติที่มาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยในปี 2018 รายได้จากชาวต่างชาติที่มาใช้บริการทางการแพทย์นั้น สูงกว่า 32,200 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่า ของปี 2010 ที่ประมาณ 5,300 ล้านบาท

3. คุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในวันนี้แพทย์ไทยกำลังมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการศัลยกรรมความงาม, การรักษาภาวะมีบุตรยาก และการผ่าตัดแปลงเพศ โดยจะสังเกตได้ว่า ในวงเสวนาทางการแพทย์หลายเวที เรามักจะเห็นแพทย์ของไทยได้เข้าร่วม และได้รับเกียรติให้บรรยายความรู้ สู่สายตาแพทย์ชาวต่างชาติอยู่หลายครั้ง

และนอกจาก 3 ปัจจัยสำคัญเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก เช่น

- การมีสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่มีชื่อเสียงมากมาย
- การมีค่าครองชีพที่ค่อนข้างต่ำ
- การให้สิทธิพิเศษทางวีซ่า แก่ผู้ที่เข้ามาเพื่อรับการรักษาทางการแพทย์

โดยนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เข้ามายังประเทศไทย ไม่ได้มีแค่ชาวตะวันตก หรือประเทศแถบตะวันออกกลางเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ทั้งกัมพูชา, ลาว, เมียนมา รวมถึงจีน ได้ก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่สำคัญที่สุดของไทยไปแล้ว โดยเฉพาะชาวกัมพูชา ที่มีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อคนสูงที่สุด สูงกว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเสียอีก

ด้วยมาตรฐาน ความเชี่ยวชาญ และปัจจัยเฉพาะตัวของประเทศ ที่ส่งเสริมเช่นนี้ จึงทำให้ไทยเราตั้งเป้าจะเป็น “Medical Hub” หรือ ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ แต่ก็ต้องแข่งขันกับหลายประเทศ ที่ต้องการจะแย่งชิงการเป็นผู้นำในด้านนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น จีน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือสิงคโปร์ ซึ่งการก้าวขึ้นมาเป็น Medical Hub จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สายการบิน, โรงแรม, ร้านอาหาร, สถานที่ท่องเที่ยว, ภาคบริการ ตลอดจนบุคลากร หรือพนักงานที่เกี่ยวข้อง และยังรวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ อย่างเช่น ธุรกิจยา หรือธุรกิจเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ หากผู้กำหนดนโยบายเดินหน้าผลักดันอย่างไม่สมดุล ก็อาจสร้างผลกระทบในเชิงลบให้กับประเทศได้เช่นกัน เพราะยิ่งการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยเติบโตมากเท่าไร การแย่งชิงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถ เพื่อไปให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น..

这种把医疗和旅行结合起来的模式,或许可以促进两方面行业的蓬勃发展,并且带动相关产业的发展,为泰国创造更多收入呢。

泰星小百科:Yam美得让人目不转睛
泰国国花--金链花
相关文章